วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สเต็มศึกษา (STEM Education)

สเต็มศึกษา (STEM Education)



สเต็มศึกษา (STEM Education)



“สเต็มศึกษา” Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คืออะไร


“สเต็มศึกษา” คืออะไร เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯ โดยในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมปริญญาโทและเอก ทำให้จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งของทุกประเทศที่รวมกันผลิตออกมา

ดร.เปกกา เคส ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า “พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราสอนให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก สร้างจิตสำนึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสร้างพื้นฐานให้เด็กของเรามีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมันในอนาคต” ประเทศฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่พัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุดในโลก เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมีความเข้มงวดในการคัดเลือกบุคคลที่จะมาประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น โดยต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท นอกจากนี้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือนอกเมือง และการแข่งขันเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่ากัน 

ในขณะที่ ชอง ชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสเต็ม โดยเริ่มมีการนำระบบนี้มาใช้เมื่อ สามปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้บ่อยขึ้น เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ถึงตรงนี้คงพอสรุปได้แล้วว่า สเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ การสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์(Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้น ต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ ดังนั้น ผู้เรียนที่มีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมหรือโครงงานสเต็มจะมีความพร้อมในการประกอบอาชีพที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ การคมนาคม และลอจิสติกส์ เป็นต้น 



จุดเด่นของระบบ“สเต็มศึกษา” จึงตอบโจทย์การแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยที่การศึกษาเน้นการเรียนภาคทฤษฎีของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเรียนแบบแยกส่วน และไม่เน้นด้านการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เน้นท่องจำ หรือ “เรียนเพื่อสอบ” 

เมื่อต้นปี 2556 ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานบอร์ด สสวท.จึงประกาศใช้ “สเต็มศึกษา” มาพลิกโฉมการเรียนวิทย์-คณิตของไทย ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต เพราะหากเรายังไม่พัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราจะสูญเสีย

ศักยภาพการแข่งขันไปเรื่อยๆ เพราะระบบสเต็มจะตอบคำถามให้ผู้เรียนวิทยาศาสตร์ได้ว่า เรียนไปแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และระบบสเต็มยังทำให้เกิดการบูรณาการในความรู้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

“ถ้าเราไม่พัฒนา เราจะตกอยู่ในช่วง Middle income trap หรือตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และเอสเอ็มอีเราจะตายหมด เหลือเพียงธุรกิจผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เราต้องหลุดจากช่วงนี้ไปให้ได้ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องเปลี่ยนความคิดพื้นฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ พลิกสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า Game changer ยกตัวอย่างเช่นการมีระบบ 3 G หรือสมาร์ทโฟน ก็เป็น Game changer”

ระบบสเต็มศึกษายังสามารถสร้างเครือข่ายการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านระบบเครือข่าย 3 G ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมือง และโรงเรียนห่างไกลในชนบท ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถช่วยสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่เส้นทางอาชีพ โดยให้ความร่วมมือบอกโจทย์หรือความต้องการในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้นักศึกษาในระดับการศึกษาต่าง ๆ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และข้อเสนอแนะที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้นๆได้

การเกิดสะเต็มศึกษานั้นจะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เปลี่ยนวิธีสอน และการประเมินผล โดยทาง สสวท.จะจัดตั้งสำนักสเต็มศึกษาขึ้นใน สสวท.และทุกจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและให้ข้อมูล โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่องสเต็มศึกษาขึ้นในโรงเรียนเครือข่ายที่มีความพร้อมประมาณ 5-10 จังหวัด ขณะเดียวกัน จะคัดเลือกทูตสเต็ม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ แพทย์ วิศวกร ในเบื้องต้นจำนวน 100คน มาเป็นผู้แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แก่ครู เพื่อต่อยอดในการสอนนักเรียน และจะเริ่มระบบสเต็มศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 หากเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป

ขณะที่ นางชมัยพร ตั้งตน หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ มัธยมศึกษา ของ สสวท. เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่สัมพันธ์กับระบบ สเต็มศึกษา ว่าขณะนี้ได้ส่งหลักสูตรที่ สสวท.ปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ประเทศ ตรวจสอบอีกครั้ง โดย สสวท.คาดว่าหลักสูตรจะแล้วเสร็จและส่งมอบให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้จริงในปี 2558 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยภาวะผู้นำทางวิชาการด้าน STEM (science technology engineering and mathematics) ของผู้บริหารสถานศึกษาจาก 9 ประเทศอาเซียน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของภูมิภาคที่ต้องการเร่งสร้างกำลังคนให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนด้วยระบบสเต็ม 

...จึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถไม่น้อย หากสังคมไทยจะรู้จักและเข้าใจหลักสูตร “สเต็มศึกษา” ในวงกว้าง ในฐานะที่ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2557...








ข้อมูลอ้างอิง

ศธ.ผลักดัน "สะเต็มศึกษา" บูรณาการ 4 วิชาสอนเด็กไทย : สำนักข่าวไทย TNA News |

19 ก.ค. 2556 

สสวท. เร่งพัฒนาระบบการศึกษาแบบ สะเต็ม ปูทางอนาคตสู่ผู้นำภูมิภาคด้านสังคมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี : สยามธุรกิจ

สสวท. ดันระบบ"สเต็มศึกษา" เพิ่มศักยภาพแข่งขันประเทศ : ไทยโพสต์

โละสอนแบบท่องจำ ผุด “สะเต็มศึกษา” เรียนวิทย์-เทคโนฯปฏิบัติเน้นๆ :

ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2556

สสวท.เร่งปรับหลักสูตรวิทย์-คณิต ชู "นโยบายสเต็มศึกษา" เพิ่มทักษะ-คาดทันใช้ปี 58 : ข่าวสดออนไลน์ 8 มีนาคม 2556

งานวิจัย เรื่อง “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” โดย พรทิพย์ ศิริภัทราชัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


5 ความคิดเห็น:

  1. สเต็มศึกษา (STEM Education)



    “สเต็มศึกษา” Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คืออะไร


    “สเต็มศึกษา” คืออะไร เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯ โดยในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมปริญญาโทและเอก ทำให้จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งของทุกประเทศที่รวมกันผลิตออกมา

    ดร.เปกกา เคส ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า “พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราสอนให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก สร้างจิตสำนึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสร้างพื้นฐานให้เด็กของเรามีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมันในอนาคต” ประเทศฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่พัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุดในโลก เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมีความเข้มงวดในการคัดเลือกบุคคลที่จะมาประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น โดยต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท นอกจากนี้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือนอกเมือง และการแข่งขันเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่ากัน

    ในขณะที่ ชอง ชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสเต็ม โดยเริ่มมีการนำระบบนี้มาใช้เมื่อ สามปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้บ่อยขึ้น เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

    ถึงตรงนี้คงพอสรุปได้แล้วว่า สเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) คือ การสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์(Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้น ต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ ดังนั้น ผู้เรียนที่มีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมหรือโครงงานสเต็มจะมีความพร้อมในการประกอบอาชีพที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ การคมนาคม และลอจิสติกส์ เป็นต้น

    ตอบลบ
  2. จุดเด่นของระบบ“สเต็มศึกษา” จึงตอบโจทย์การแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยที่การศึกษาเน้นการเรียนภาคทฤษฎีของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเรียนแบบแยกส่วน และไม่เน้นด้านการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เน้นท่องจำ หรือ “เรียนเพื่อสอบ”

    เมื่อต้นปี 2556 ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานบอร์ด สสวท.จึงประกาศใช้ “สเต็มศึกษา” มาพลิกโฉมการเรียนวิทย์-คณิตของไทย ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต เพราะหากเรายังไม่พัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราจะสูญเสีย

    ศักยภาพการแข่งขันไปเรื่อยๆ เพราะระบบสเต็มจะตอบคำถามให้ผู้เรียนวิทยาศาสตร์ได้ว่า เรียนไปแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และระบบสเต็มยังทำให้เกิดการบูรณาการในความรู้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

    “ถ้าเราไม่พัฒนา เราจะตกอยู่ในช่วง Middle income trap หรือตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และเอสเอ็มอีเราจะตายหมด เหลือเพียงธุรกิจผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เราต้องหลุดจากช่วงนี้ไปให้ได้ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องเปลี่ยนความคิดพื้นฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ พลิกสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า Game changer ยกตัวอย่างเช่นการมีระบบ 3 G หรือสมาร์ทโฟน ก็เป็น Game changer”

    ระบบสเต็มศึกษายังสามารถสร้างเครือข่ายการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านระบบเครือข่าย 3 G ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมือง และโรงเรียนห่างไกลในชนบท ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถช่วยสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่เส้นทางอาชีพ โดยให้ความร่วมมือบอกโจทย์หรือความต้องการในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้นักศึกษาในระดับการศึกษาต่าง ๆ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และข้อเสนอแนะที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้นๆได้

    การเกิดสะเต็มศึกษานั้นจะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เปลี่ยนวิธีสอน และการประเมินผล โดยทาง สสวท.จะจัดตั้งสำนักสเต็มศึกษาขึ้นใน สสวท.และทุกจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและให้ข้อมูล โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่องสเต็มศึกษาขึ้นในโรงเรียนเครือข่ายที่มีความพร้อมประมาณ 5-10 จังหวัด ขณะเดียวกัน จะคัดเลือกทูตสเต็ม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ แพทย์ วิศวกร ในเบื้องต้นจำนวน 100คน มาเป็นผู้แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แก่ครู เพื่อต่อยอดในการสอนนักเรียน และจะเริ่มระบบสเต็มศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 หากเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป

    ขณะที่ นางชมัยพร ตั้งตน หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ มัธยมศึกษา ของ สสวท. เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่สัมพันธ์กับระบบ สเต็มศึกษา ว่าขณะนี้ได้ส่งหลักสูตรที่ สสวท.ปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ประเทศ ตรวจสอบอีกครั้ง โดย สสวท.คาดว่าหลักสูตรจะแล้วเสร็จและส่งมอบให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้จริงในปี 2558

    ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยภาวะผู้นำทางวิชาการด้าน STEM (science technology engineering and mathematics) ของผู้บริหารสถานศึกษาจาก 9 ประเทศอาเซียน ซึ่งแสดงถึงความร่วมมือของภูมิภาคที่ต้องการเร่งสร้างกำลังคนให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนด้วยระบบสเต็ม

    ...จึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถไม่น้อย หากสังคมไทยจะรู้จักและเข้าใจหลักสูตร “สเต็มศึกษา” ในวงกว้าง ในฐานะที่ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2557...

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลอ้างอิง

    ศธ.ผลักดัน "สะเต็มศึกษา" บูรณาการ 4 วิชาสอนเด็กไทย : สำนักข่าวไทย TNA News |

    19 ก.ค. 2556

    สสวท. เร่งพัฒนาระบบการศึกษาแบบ สะเต็ม ปูทางอนาคตสู่ผู้นำภูมิภาคด้านสังคมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี : สยามธุรกิจ

    สสวท. ดันระบบ"สเต็มศึกษา" เพิ่มศักยภาพแข่งขันประเทศ : ไทยโพสต์

    โละสอนแบบท่องจำ ผุด “สะเต็มศึกษา” เรียนวิทย์-เทคโนฯปฏิบัติเน้นๆ :

    ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2556

    สสวท.เร่งปรับหลักสูตรวิทย์-คณิต ชู "นโยบายสเต็มศึกษา" เพิ่มทักษะ-คาดทันใช้ปี 58 : ข่าวสดออนไลน์ 8 มีนาคม 2556

    งานวิจัย เรื่อง “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” โดย พรทิพย์ ศิริภัทราชัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    ตอบลบ
  4. STEM เป็นคำย่อของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งเดิมคำนี้บัญญัติขึ้นเพื่อการขอวีซ่าทำงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้อพยพมาจากประเทศอื่น และมักใช้ในวงการศึกษา เพื่ออ้างอิงถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะดังกล่าว

    สะเต็มอาจรวมถึงแรงงานที่ด้อยการศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าว โดยเฉพาะในงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง (High-tech) และอาจเกี่ยวข้องกับความกังวลในแง่การสอนแต่ละวิชาแยกจากกัน (Isolation) แทนหลักสูตรบูรณาการทั้ง 4 วิชา วาระแห่งชาติสำหรับการศึกษาในสหรัฐอเมริกาคือการสร้างพลเมืองที่มีขีดความสามารถสูงในเรื่องสะเต็ม

    ในปี พ.ศ. 2555 กระทรวงความมั่นคงภายในประเทศ ของสหรัฐอเมริกา ประกาศขยายรายชื่อสาขาวิชาสะเต็มในหลักสูตรปริญญาบัตร และขยายอายุวีซ่าให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาในสาขาวิชาสะเต็ม สามารถอยู่ในประเทศต่อเพื่อฝึกงานได้อีก 17 เดือน จากเดิมที่ให้วีซ่าเพียง 12 เดือนมีผู้สนับนุนให้ขยายขอบเขตของการศึกษาวิชาวิศวกรรม ภายใน 3 วิชาที่เหลือของสะเต็ม และการเริ่มสอนวิชาวิศวกรรมในระดับมัธยมศึกษา และแม้กระทั่งประถมศึกษา เป็นการนำสาขาวิชาสะเต็มไปสู่นักเรียนที่อายุยังน้อย แทนที่จะจำกัดอยู่ในโปรแกรมของเด็ก “พรสวรรค์” (Gifted) เท่านั้น ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้จัดสรรงบประมาณพิเศษ ให้รัฐที่สามารถปรับปรุงการศึกษาของครูที่สอนสาขาวิชาสะเต็มต้นปี พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับบลิว บุช ได้ประกาศถึงความคิดริเริ่มในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) โดยเพิ่มงบประมาณแผ่นดินในการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนบัณฑิตในสาขาวิชาสะเต็ม และโปรแกรมก้าวหน้าต่างๆ ด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อรองรับสนับสนุนทิศทางดังกล่าว ในปีเดียวกัน สภาการศึกษาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดนโยบาย 10 ข้อ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาสะเต็ม เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกในศตวรรษที่ 21 ข้อเสนอแนะดังกล่าวสามารถสรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ

    เพิ่มจำนวนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) โดยปรับปรุงการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตั้งแต่อนุบาล จนถึงมัธยมปลาย

    เพิ่มทักษะและความแข็งแกร่งของครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

    ขยายจำนวนนักเรียน ที่ได้รับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาบัตรในสาขาวิชาสะเต็ม


    แหล่งข้อมูล

    - สสวท ตั้งสะเต็มศึกษา ส่งเสริมการเรียนวิทย์-คณิต-เทคโนโลยี
    - http://www.naewna.com/local/37990 [2013, January 20]. STEM field
    - http://en.wikipedia.org/wiki/STEM_fields [2013, January 20].

    ตอบลบ
  5. STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 = STEM education and 21th century skills development / พรทิพย์ ศิริภัทราชัย.
    วารสารนักบริหาร. ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 ( เม.ย.-มิ.ย. 2556 ) หน้า 49-56. /

    ตอบลบ