วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทักษะแหงอนาคตใหม การเรียนรูในศตวรรษที่ 21


ทักษะแหงอนาคตใหม
การเรียนรูในศตวรรษที่ 21


เครือขายองคกรความรวมมือเพื่อทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือมีชื่อยอวา เครือขายP21 ไดพัฒนาวิสัยทัศนเพื่อความสำเร็จของนักเรียนในระบบเศรษฐกิจโลกใหม

21st Century Student Outcomes and Suppo and Support Systems rt Systems



ผลลัพธการเรียนรูของนักเรียนในศตวรรษที่ 21

เพื่อชวยใหผูปฏิบัติบูรณาการทักษะเขาในการสอนเนื้อหาหลักดานวิชาการ เครือขาย P21 ไดพัฒนาวิสัยทัศนการเรียนรูเปนกรอบความคิดเพื่อการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองคความรู ทักษะเฉพาะดาน ความชำนาญการและความรูเทาทันดานตางๆเขาดวยกัน เพื่อใหประสบความสำเร็จทั้งในดานการทำงานและการดำเนินชีวิต กรอบแนวคิดขางตนเองเปนจุดเริ่มตนของการพัฒนาทักษะแหงอนาคตใหมสำหรับประเทศไทย 

การนำทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกทักษะไปใช นักเรียนทุกคนจำเปนตองไดรับการพัฒนาใหมีความรูความเขาใจเนื้อหาหลัก
ดานวิชาการ การที่นักเรียนจะสามารถคิดอยางมีวิจารณญานและสื่อสารไดอยางมีประสิทธิภาพนั้นตองอาศัยบูรณาการของพื้นฐานความรูดังกลาวภายใตบริบทการสอนความรูวิชาหลัก นักเรียนตองเรียนรูทักษะที่จำเปนเพื่อใหประสบความสำเร็จในโลกทุกวันนี้ 
เชน การคิดอยางมีวิจารณญาน การแกปญหา การคิดสรางสรรค การสื่อสารและการรวมมือกัน กรอบความคิดขางตนจำเปนตองมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่จำเปน ไดแก มาตรฐานการเรียนรู การประเมินผล หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนาวิชาชีพและบรรยากาศการเรียนรูที่สงเสริมใหนักเรียนมีสวนรวมในกระบวนการเรียนรูมากขึ้น
และจบการศึกษาออกไปดวยความพรอมที่จะประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจโลกของทุกวันนี้เครือขาย P21 ประกอบดวยหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไดขับเคลื่อนแนวคิดขางตนในสหรัฐอเมริกาตั้งแตป 2002



สาระวิชาหลักและทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

การรอบรูสาระวิชามีความสำคัญและจำเปนอยางยิ่งตอความสำเร็จของนักเรียน สาระวิชาหลักไดแก ภาษาอังกฤษ การอาน ภาษาของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร เศรษฐศาสตร วิทยาศาสตร ภูมิศาสตร ประวัติศาสตร การปกครองและความเปนพลเมืองที่ดีแตไมเพียงพอสำหรับการเรียนรูเพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนตองสงเสริมความเขาใจเนื้อหาวิชาการใหอยูในระดับสูงดวยการสอดแทรกทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ตอไปนี้เขาในทุกวิชาหลัก:
• ความรูเรื่องโลก (Global Awareness)
• ความรูดานการเงิน, เศรษฐกิจ, ธุรกิจและการเปนผูประกอบการ 
 (Financial, Economic, Business and Entrepreneurial Literacy)
• ความรูดานการเปนพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
• ความรูดานสุขภาพ (Health Literacy)

• ความรูดานสิ่งแวดลอม (Environmental Literacy)


ทักษะดานการเรียนรูและนวัตกรรม

ทักษะดานการเรียนรูและนวัตกรรมจะเปนตัวกำหนดความพรอมของนักเรียนในการเขาสูการทำงานซึ่งมีความซับซอนเพิ่มขึ้นในโลกปจจุบัน ทักษะดานนี้ไดแก: 
• ความคิดสรางสรรคและนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
• การคิดอยางมีวิจารณญานและการแกปญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
• การสื่อสารและความรวมมือ (Communication and Collaboration)


ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

ทุกวันนี้ เราอาศัยอยูในสภาพแวดลอมที่ขับเคลื่อนดวยสื่อและเทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นไดจากการเขาถึงขอมูลขาวสารจำนวนมากมาย การเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วดานเทคโนโลยีการศึกษาและความสามารถในการเชื่อมโยงกันและการมีสวนรวมในอัตราที่ไมเคย
เกิดขึ้นมากอน พลเมืองและแรงงานที่มีประสิทธิภาพตองสามารถแสดงทักษะการคิดอยางมีวิจารณญานและปฏิบัติงานไดหลากหลาย เชน:
• ทักษะดานสารสนเทศ (Information Literacy)
• ทักษะดานสื่อ (Media Literacy)
• ทักษะดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information, Communications and Technology, Literacy)


ทักษะชีวิตและอาชีพ

ชีวิตและสภาพการทำงานในทุกวันนี้จำเปนตองมีทักษะการคิดและองคความรูเพิ่มขึ้นมากมาย ความสามารถในการทำงานในยุค
ที่แขงขันกันดานขอมูลขาวสารและการดำรงชีวิตที่มีความซำซอนใหประสบความสำเร็จไดนั้น จำเปนที่นักเรียนตองใสใจ
อยางเครงครัดในการพัฒนาทักษะชีวิตตอไปนี้ใหเพียงพอ:
• ความยืดหยุนและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability)
• การริเริ่มและการกำกับดูแลตนเองได (Initiative and Self-Direction)
• ทักษะดานสังคมและทักษะขามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills)
• การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได (Productivity and Accountability)
• ภาวะผูนำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)


ระบบสงเสริมการเรียนรูในศตวรรษที่ 21

การพัฒนากรอบความคิดที่ครอบคลุมเพื่อการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเปนตองจะตองสรางระบบสงเสริมเพิ่มขึ้นจากทักษะเฉพาะดาน องคความรู ความชำนาญการและความสามารถในการเรียรูดานตางๆ เพื่อชวยใหนักเรียนรอบรู มีความสามารถที่จำเปนและหลากหลาย เครือขาย P21 ไดระบุระบบสงเสริมใหนักเรียนไดรอบรูทักษะการเรียนรูที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ไวดวยกันหาระบบดังนี้:
• มาตรฐานการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards)
• การประเมินผลทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 (Assessments of 21st Century Skills)
• หลักสูตรและวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum and Instruction)
• การพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development)
• บรรยากาศการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environments)



ที่มา  http://www.samkha.ac.th/Pramoteweb/21st_Century_Learning_Skills.pdf






9 ความคิดเห็น:

  1. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 (ศ. น.พ.วิจารณ์ พานิช)



    การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C

    3R ได้ 3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

    7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

    Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

    Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

    Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

    Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

    Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

    Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

    ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)

    ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์ ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู

    บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21

    การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ครูที่รักศิษย์ เอาใจใส่ศิษย์ แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)

    ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวข้าสาระวิชา

    ตอบลบ
  2. ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กไทยควรมี

    เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างมหาศาล รวมทั้งการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสาร พร้อมทั้งการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอล ( DIGITAL LIFE) ดังนั้นเด็กไทยจึงควรมีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

    ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม : สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ ผลิตความรู้ และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นผลิตผลและกระบวนการโดยใช้เทคโนโลยี ด้วยการ:

    • ประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่
    • สร้างงานที่เป็นต้นแบบเพื่อสื่อถึงตัวตนหรือกลุ่ม
    • ใช้โมเดลและการจำลองเพื่อสำรวจระบบและปัญหาที่ซับซ้อน
    • หาแนวโน้มและคาดการณ์ความเป็นไปได้

    การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน : สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิตอลและสภาพแวดล้อมทางดิจิตอลเพื่อสื่อสารและทำงานร่วมกันรวมทั้งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางไกลสำหรับตนเองและผู้อื่น ด้วยการ :

    • มีปฏิสัมพันธ์ให้ความร่วมมือและเผยแพร่งานร่วมกับเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลอื่นๆ โดยใช้สื่อดิจิตอลและสภาพแวดล้อมทางดิจิตอลต่างๆ
    • สื่อสารข้อมูลและความคิดไปสู่ผู้รับจำนวนมากอย่างมีประสิทธิผลโดยใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ
    • พัฒนาความเข้าใจทางวัฒนธรรมและจิตสำนึกต่อโลกการคลุกคลีกับผู้เรียนจากวัฒนธรรมอื่น
    • ช่วยเหลือสมาชิกในโครงการให้ผลิตผลงานที่เป็นต้นแบบและช่วยแก้ไขปัญหา

    ความเชี่ยวชาญในการค้นคว้าหาข้อมูล : สามารถใช้เครื่องมือดิจิตอลเพื่อรวบรวม ประเมิน และใช้ข้อมูล ด้วยการ :

    • วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้น
    • ค้นหา จัดระเบียบ วิเคราะห์ ประเมิน สังเคราะห์และใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรม จากแหล่งข้อมูลและสื่อต่างๆ
    • ประเมินและคัดเลือกแหล่งข้อมูลและเครื่องมือดิจิตอลตามความเหมาะสมกับภารกิจนั้นๆ
    • ประมวลข้อมูลและรายงานผล

    การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ : สามารถแสดงทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อวางแผนและวิจัย บริหารโครงการ แก้ปัญหา และตัดสินใจจากข้อมูล โดยใช้เครื่องมือดิจิตอลและแหล่งข้อมูลดิจิตอลที่เหมาะสม ด้วยการ :

    • กำหนดและนิยามปัญหาที่แท้จริงและคำถามสำคัญเพื่อค้นคว้า
    • วางแผนและบริหารกิจกรรมเพื่อหาคำตอบหรือทำโครงการให้ลุล่วง
    • รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบ หรือตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล
    • ใช้กระบวนการต่างๆและแนวทางที่หลากหลายเพื่อสำรวจทางเลือกอื่นๆ

    ความเป็นพลเมืองดิจิตอล (Digital Citizenship) : สามารถแสดงความเข้าใจประเด็นสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมและตามครรลองกฎหมาย ด้วยการ :

    • สนับสนุนและฝึกใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ถูกกฎหมายและอย่างรับผิดชอบ
    • แสดงทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ การเรียนรู้และการเพิ่มผลผลิต
    • แสดงให้เห็นว่าตนเองรู้จักรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    • แสดงความเป็นผู้นำในฐานะพลเมืองดิจิตอล

    การใช้งานเทคโนโลยีและแนวคิด : สามารถแสดงให้เห็นว่าเข้าใจแนวคิด ระบบ และการทำงานของเทคโนโลยี ด้วยการ :

    • เข้าใจและใช้ระบบเทคโนโลยีได้
    • เลือกและใช้โปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิผล
    • แก้ไขปัญหาของระบบและโปรแกรมประยุกต์ได้
    • รู้จักใช้ความรู้ที่มีปัจจุบันเพื่อเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ



    ที่มา : มาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาแห่งชาติสำหรับนักเรียน , www.iste.org

    ตอบลบ
  3. การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Child and Family Development in the 21th Century)


    เมื่อสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ในการพัฒนาเด็กในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแบบเดิม อาจต้องถูกทับซ้อนด้วยแนวคิด รูปแบบวิธีการ ความเชื่อ และเทคโนโลยีที่ผุดเกิดขึ้นใหม่ๆตามยุคสมัย เด็กและครอบครัวจำ เป็นต้องข้ามผ่านวันเวลาที่ผันเปลี่ยน และยืนหยัดอยู่ให้ได้ในสังคมสมัยใหม่ บ่มฟักคุณลักษณะที่พึงมีอย่างเหมาะสม ให้กับทรัพยากรมนุษย์ของวันนี้และอนาคตข้างหน้า ให้สมบูรณ์แบบอย่างเต็มกำลังเมื่อห้วงเวลาของศตวรรษที่ 21 คืบคลานเข้ามานับกว่าทศวรรษแล้ว สังคมโลกเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น สำหรับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของบริบททางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเช่นเดียวกับเด็ก ที่เป็นทั้งผลพวงและเป็นโจทย์สำคัญของสังคมว่า จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร ตั้งแต่วัยเริ่มต้น ให้มีพื้นฐานที่ดีมั่นคง สามารถเติบโตและอยู่รอดได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

    ตอบลบ
  4. การพัฒนาเด็ก เด็กในศตวรรษที่ 21 สำคัญอย่างไร?


    ภาพลักษณ์ของศตวรรษที่ 21 (ค.ศ.2001-ปัจจุบัน) อาจถูกวาดออกมาให้ดูน่าสะพรึงกลัว และหลุดแยกออกไปจากศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างมาก เช่นมีการอธิบายว่า ศตวรรษที่ 21 นี้มีการขยายตัวทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสูงสุด เรียกได้ว่าเป็นพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งทำให้โลกทั้งใบสามารถเชื่อมโยงกันได้ มีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารรวมถึงวิทยาการสมัยใหม่ ข้ามผ่านซีกโลกอย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒน ธรรม และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ทำให้มนุษย์กลายเป็นฐานทรัพยากรหลักของโลก เพราะพวกเขามีความรู้และสามารถเรียนรู้ได้ สามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ รวมไปถึงมีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะอื่นๆบนพื้นฐานของจริยธรรมที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์และสังคมอยู่รอดอีกด้วยจากความจำเป็นในการพัฒนาคนให้เข้ากับสังคมยุคใหม่นั้น ทำให้มีการสรุปออกมาว่าสมรรถนะหรือทักษะอะไรที่มนุษย์ยุคใหม่จะต้องมี ที่เรียกกันว่า 21st Century skills หรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย ทักษะ 4 ประการ คือ การมีความรู้ในวิชาหลัก ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงความรู้รอบตัวอื่นๆด้วย การมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ การมีทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะแห่งความร่วมมือ 4 ประการคือ การสื่อสาร (Communication) ความร่วมมือกัน (Collaboration) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี แม้ว่าจะมีทักษะที่จำเป็นเพียง 4 ประการ แต่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่ต้องได้รับการพัฒนาในระยะยาว ซึ่งแปลว่าจะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ และเมื่อมีการวิเคราะห์สภาพการศึกษาในขณะนี้พบว่าหลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทย หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถทำให้เด็กมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถอยู่รอดในสังคม และมีชีวิตที่มีคุณภาพได้เมื่อโตขึ้น นี่จึงเป็นโจทย์ปัญหาใหญ่ที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในเวลานี้ ทำให้มีงานวิจัยหลายชิ้น พยายามค้นหาและตอบคำถามที่ว่า ทำไมหลักสูตรปัจจุบันจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ผลการวิจัยที่ศึกษาตัวแปรที่แตกต่างกันไป สามารถสรุปปัญหาของการศึกษาปฐมวัยของไทยที่น่าสนใจ สรุปสาระ สำคัญได้เป็น 3 ประเด็นหลักๆได้ดังนี้ เด็กมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่าระดับสากล แต่กลับมีระดับความเครียดสูงมาก ทั้งๆที่มีการเรียนการสอนด้านวิชาการตั้งแต่ระดับอนุบาล ซึ่งน่าจะทำให้เด็กมีไอคิวสูงกว่าหลายๆประเทศที่เริ่มเรียนด้านวิชาการในระดับประถม เด็กขาด M.Q. (Moral Quotient) หรือความมีคุณธรรมจริยธรรมในจิตสำนึก และยังขาด A.Q. (Adversity Quotient) หรือความสามารถในการอดทนฝ่าฟันอุปสรรค ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก เด็กขาดทักษะในการดำรงชีวิต ซึ่งทำให้เด็กหลายคนมีปัญหาในการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมไปถึงการที่เด็กไม่สามารถดูแลตนเองได้ และมีทักษะไม่มากพอที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง

    ตอบลบ
  5. ปัญหาการพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะอย่างไร?


    ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาออกมาแล้วว่า การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ไม่สามารถทำให้เด็กไทยมีทักษะหรือคุณสมบัติมากพอที่จะดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพอยู่ในศตวรรษที่ 21 ใน 3 ประเด็นข้างต้นได้ ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่สำหรับผู้ใหญ่นั้นภาพปัญหานี้อาจยังไม่ชัดเจนมากนัก เพราะผลของมันจะเกิดขึ้นในระยะยาวเมื่อเด็กโตขึ้น หรือเรียนในระดับที่สูงขึ้น และต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้คนส่วนหนึ่งจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาช่วงปฐม วัยมากนัก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคต ปัญหาที่ปรากฏให้เห็นและกำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ คือ เด็กเรียนวิชาการมากขึ้นแต่ไอคิวต่ำลง มีอาการป่วยเป็นโรคเครียดตั้งแต่อายุยังน้อยเพิ่มขึ้น มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนมากขึ้น มีผู้ใหญ่ที่คนตกงานมากขึ้น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่หากมองให้ลึกลงไป กลับเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงมาจากพื้นฐานการพัฒนาที่ยาว นานมาตั้งแต่อดีต


    ปัญหาการพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 มีสาเหตุมาจากอะไร?


    เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการพัฒนาเด็กและครอบครัวสามารถสรุปได้ 3 ประการคือ ความเชื่อและค่านิยมที่ผิดของผู้ปกครอง สาเหตุหลักสำคัญประการแรกที่เป็นส่วนทำให้เกิดปัญหาตามมา ที่กล่าวว่าความเชื่อและค่านิยมที่ผิดนั้นก็เพราะ ในประเทศไทยผู้ใหญ่มีความเชื่อว่าคนที่มีความรู้มากคือคนเก่ง และจะมีอนาคตที่ดี มีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งสิ่งที่จะวัดการมีความรู้ทางวิชาการหรือความเก่งได้นั้นก็คือคะแนน ดังนั้นผู้ปกครองจึงมุ่งเน้นให้เด็กเร่งเรียน และให้ความสำคัญกับการสอบและการแข่งขันสูงมาก เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีความเก่งมากเพียงพอ ที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งสาเหตุนี้นำไปสู่สาเหตุของปัญหาตามมาอีกมาหลายประการ การเน้นการเรียนการสอนทางวิชาการในระดับปฐมวัย คือผลของความเชื่อที่ผิดของผู้ปกครอง ที่เห็นว่าความรู้ทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการแข่งขันทางการศึกษาจึงมีมากขึ้น โดยเด็กเล็กตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจะต้องเริ่มเรียนวิชาการเพื่อให้สามารถสอบเข้าชั้นประถมในโรงเรียนชั้นนำได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องอ่านออก เขียนได้ นับเลขเป็น และสำ หรับบางทีอาจถึงขั้นบวกลบเลขได้ตั้งแต่ในระดับชั้นปฐมวัย แต่นั่นกลับสร้างความเครียดและความกดดันให้เด็กมากขึ้น ทำให้เด็กหลายๆคนรู้สึกไม่ชอบ เบื่อการเรียน และไม่มีความสุขกับการเรียนเพื่อสอบ ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้การศึกษาเป็นเรื่องของการลงทุน ที่ผู้ปกครองจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากขึ้นในการศึกษาของลูก ทั้งกับการเรียนพิเศษ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์การเรียนที่ใช้มากขึ้น ซึ่งอาจเป็น คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อช่วยในการเรียนของเด็ก การปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น รวมถึงการเรียนทักษะต่างๆที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ การปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆในวัยเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง และลงมือทำด้วยตนเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆของเด็กไม่แตกแขนง และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีก จากสาเหตุของปัญหาทั้ง 3 ประการดังกล่าว ทำให้เห็นว่า การที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองของศตวรรษที่ 21 ได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้เวลานาน โดยต้องอาศัยการทำความเข้าใจเพื่อปรับความคิด ความเชื่อใหม่ตั้งแต่ระดับครอบครัว ผู้บริหารการศึกษา รวมถึงการจัดระบบการศึกษา เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของเด็กเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากไม่มีการปรับปรุงวิสัยทัศน์ของคนในประเทศ รวมถึงการร่วมมือกันอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วน แน่นอนว่าประ เทศไทยอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์และพลเมืองในอนาคตมากขึ้น เพราะเด็กในวันนี้ที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ไม่มีสมรรถภาพมากพอที่จะใช้ชีวิต และเป็นคนที่มีคุณภาพพอที่จะดูแลสังคมในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้

    ตอบลบ
  6. พ่อแม่ ผู้ปกครองช่วยเหลือหรือพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร?


    เมื่อเห็นชัดแล้วว่าปัญหาของการพัฒนาเด็กมีสาเหตุเริ่มมาจากผู้ใหญ่ ซึ่งผู้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของเด็กมากที่สุดคือ ผู้ปก ครองและครู เป็นวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนสำคัญที่จะส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้เด็กได้ดีที่สุด นอกจากที่ผู้ใหญ่ในสังคม ไทยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กแล้ว พวกเขายังมีส่วนช่วยในการพัฒนาของเด็กได้อีกหลายประการ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนช่วยเพิ่มทักษะและการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับเด็กได้ดังนี้ ปล่อยให้ลูกเล่น การเล่นทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากขึ้น แม้ว่ากิจกรรมบางอย่างอาจดูเลอะเทอะ เช่น การเล่นทรายหรือการวาดภาพ แต่จะทำให้เขาได้พัฒนากล้ามเนื้อ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการสัมผัส การแยกเนื้อละ เอียด เนื้อหยาบของทราย การสังเกต และที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงกิจกรรมกลางแจ้งที่อาจต้องอยู่กลางแดดลม ที่พ่อแม่หลายคนมักเกรงว่าลูกอาจบาดเจ็บหรือป่วยได้ เช่น การขี่จักรยาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กลับเป็นกิจกรรมที่จะทำให้เด็กได้ฝึกทักษะทั้งทางการมองเห็น การคิดตัดสินใจ และยังทำให้พวกเขาได้ฝึกการทรงตัวอีกด้วย ในญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับกิจกรรมการขี่จักรยานของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะการขี่จักรยานทำให้เด็กได้พัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆกัน และยังได้ฝึกให้สมองและใยประสาทจะได้ทำงานร่วมกัน เมื่อได้ฝึกคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาและลงมือทำ ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่น เพราะนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้ว เด็กยังจะได้เรียนรู้มากกว่าการนั่งเขียนหนังสือหรือเรียนวิชาการมาก สื่อสารกับลูก พ่อแม่หลายๆ คนอาจคิดว่า เด็กในวัยนี้เป็นเด็กอยู่เสมอ จึงพูดให้เด็กๆฟังอยู่ฝ่ายเดียว แต่จริงๆแล้วเด็กวัยนี้ควรเริ่มฝึกเรื่องการสื่อสาร และพ่อแม่ก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ลูกได้พัฒนาในส่วนนี้ได้มาก โดยเริ่มแรกพ่อแม่ควรหัดให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อให้ลูกได้ฝึกประสาทการฟัง การแยกแยะเสียง สอนให้ลูกมีสติมีสมาธิในการฟัง โดยการเงียบและตั้งใจฟังสิ่งที่ได้ยิน อาจเริ่มจากการสอนให้ลูกฟังพ่อแม่พูดให้จบก่อน แล้วลูกถึงจะพูดต่อ หรือการสอนให้ลูกฟังเพลงเพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำกิจกรรมอื่นควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้เมื่อลูกสามารถฟังได้แล้ว พ่อแม่ควรให้โอกาสลูกได้พูด สื่อความรู้สึกของตนเองออกมาด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยสอนการสื่อสารของลูก ที่จะพยายามบอกให้พ่อแม่ทราบถึงความรู้สึกและความต้องการของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นเด็กยังได้เรียนรู้มารยาทและจริยธรรมเบื้องต้น ซึ่งคือเรื่องของการให้เกียรติกันในการรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด และผู้อื่นก็ต้องฟังเราพูด สุดท้ายพ่อแม่ควรตั้งคำถามเพิ่มเติมให้แก่ลูก เพื่อฝึกทักษะทางการคิดวิเคราะห์ เช่น เมื่อฟังเพลงจบแล้ว นอกจากที่พ่อแม่จะถามลูกว่าชอบหรือไม่ชอบเพลงนี้ พ่อแม่อาจถามความคิดเห็น หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับเพลงนั้นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ จัดระบบชีวิตลูก วัยเด็กไม่ใช่แค่เล่นหรือเรียนเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขาจะต้องเริ่มหัดที่จะใช้ชีวิตอย่างมีระบบระ เบียบบ้าง เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่จะจัดการชีวิตอย่างเป็นขั้นตอน รวมไปถึงการเริ่มฝึกเรื่องระเบียบวินัย การเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎ ซึ่งต่อไปจะทำให้พวกเขาสามารถทำตามกฎหมายและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ เช่น พ่อแม่กำหนดให้ลูกตื่นนอนและเข้านอนเป็นเวลาในวันที่จะต้องไปโรงเรียน


    ตอบลบ
  7. ควบคุมการใช้สื่อและเทคโนโลยีของลูก ขณะนี้การสื่อสารต่างๆรวมไปถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย ทั้งโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และอินเตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานอุป กรณ์เหล่านี้ได้แล้ว ดังนั้นพ่อแม่ควรเลือกสิ่งที่จะให้ลูกใช้ เช่น มีการเลือกเกมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองและทักษะของลูก มีการจำกัดการใช้ไม่ให้มากเกินไป เพื่อไม่ให้มีปัญหากับสายตา และที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่เองก็จะต้องเป็นตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย โดยไม่ยึดติดกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีเหล่านี้ตลอดเวลา เช่น ไม่เล่นหรือใช้งานในเวลาทานข้าวหรืออยู่กับครอบครัว เป็นต้น สอนวัฒนธรรมและจิตสำนึกให้กับลูก สิ่งสำคัญที่เด็กยุคใหม่ขาดไปคือ เรื่องของวัฒนธรรม มารยาทสังคม และจิต สำนึก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้ติดตัวของพวกเขาไปเมื่อโตขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรเพิก เฉยต่อสิ่งเหล่านี้ เช่น หากลูกทำอะไรผิด ควรมีการตักเตือนและบอกเหตุผล เพื่อให้ลูกเข้าใจและไม่ทำอย่างนั้นอีก พาลูกไปวัดหรือสถานที่ประวัติศาสตร์บ้าง เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้วัฒนธรรมของไทยที่ดีงาม เป็นต้น โดยอาจเริ่มจากเรื่องเล็กน้อย เช่น การเข้าแถว การไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น การขอโทษ หรือการขอบคุณ เพื่อเป็นพื้นฐานให้เขาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต เนื่องจากเมื่อโตขึ้นพวกเขาจะต้องเข้าไปอยู่ร่วมกับคนในสังคม การเริ่มปลูกจิตสำนึกในขณะที่พวกเขากำลังเรียนรู้นั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พวกเขาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต ให้ลูกใช้ชีวิต เมื่อเด็กๆโตขึ้นพวกเขาจะต้องออกไปใช้ชีวิตและมีชีวิตเป็นของตนเอง ดังนั้นพวกเขาควรจะต้องได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง ได้ลองตัดสินใจอะไรเองบ้าง เพราะจะทำให้พวกเขาได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการตัด สินใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ทักษะการเป็นผู้นำหรือทักษะอื่นๆอีก ซึ่งอาจจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ เช่น การเก็บของเล่น การเลือกสีทิ่ชอบ การเล่นกีฬาแล้วแพ้บ้างชนะบ้าง หรือการอดทนรอสิ่งที่พวกเขาต้องการ และให้ลองคิดหาวิธีการผ่านอุปสรรคบาง อย่างเองบ้าง หลายครั้งพ่อแม่อาจไม่ใจเย็นพอที่จะรอลูกคิดหรือตัดสินใจ จึงรีบทำให้ทุกอย่าง แต่พ่อแม่อาจลืมไปว่านั่นเป็นการจำกัดการเรียนรู้ของลูก ทำให้ลูกทำอะไรไม่เป็น หรือเป็นช้ากว่าเด็กคนอื่น หรือได้พัฒนาทักษะบางด้านน้อยกว่าที่ควร เพราะการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จะเกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้ใช้ความคิดในการตัดสินใจ

    ตอบลบ
  8. เกร็ดความรู้เพื่อครู


    นอกจากพ่อแม่แล้ว ครูก็เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็ก การเตรียมความพร้อมให้เด็ก สามารถดำเนินชี วิตในศตวรรษที่ 21 นี้ได้ นอกจากปรับระบบความคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับเด็กเล็กแล้ว ครูยังสามารถช่วยเด็กๆได้อีกหลายทาง ไม่ว่าจะเป็น การจัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การตกแต่งห้องเรียนด้วยรูปภาพหรือสื่อการสอนที่มีสีสันสดใส ทำให้เด็กอยากเข้ามาเรียนรู้ ซึ่งนั่นถือเป็นการพัฒนาทักษะทางการคิดของเด็ก และช่วยเสริมสร้างจินตนาการของพวกเขา หรือแม้แต่การให้ความสำคัญกับเวลาพัก เพื่อให้เด็กได้มีเวลาผ่อนคลายก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้ต่อไป ดูแลเรื่องอา หารและการออกกำลังกาย เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทั้งสมองและร่างกายอย่างเหมาะสมไปพร้อมๆกัน และมีความพร้อมที่จะพัฒนาในส่วนอื่นๆต่อไป นอกจากนี้ครูยังสามารถจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้สมองทั้งซีกซ้าย (การคิดอย่างมีเหตุผล) และซีกขวา (อารมณ์ความรู้สึก)ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล และหากเป็นกิจกรรมที่เร้าให้เด็กเกิดความสงสัยและอยากรู้เพิ่มเติมด้วย ก็จะทำให้พวกเขามีความอยากที่จะเรียนรู้และหาคำตอบ ยิ่งไปกว่านั้น การหากิจกรรมที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน จะทำให้เด็กสามารถฝึกการคิดอย่างเป็นขั้นตอน และการเชื่อมโยงได้อีกด้วย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ครูควรจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลาคือ เด็กมีความพร้อมหรือมีบุคลิกภาพเหมาะกับการเรียนการสอนแบบไหนในช่วงไหน ในบางครั้งเด็กอาจไม่พร้อมกับกิจกรรมที่มีความเป็นนามธรรมมากเกินไป ก็ควรกลับไปใช้สื่อและกิจกรรมที่เห็นรูปธรรมก่อน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัส เช่น การเล่นเกมหรือทำกิจกรรม แทนที่จะเป็นการนั่งโต๊ะเรียน และสุดท้าย ครูควรจะลดความกังวลเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการลง และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น เพราะบางครั้งการเล่นเกมของเด็กเพียงหนึ่งครั้ง อาจทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าการนั่งเรียนวิชาการมากมหาศาล

    ตอบลบ
  9. บรรณานุกรม


    ประชาชาติธุรกิจ, 2013. เพิ่มศักยภาพเด็กไทย “กล้าเลอะ เยอะเรียนรู้”. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013].

    ผู้จัดการออนไลน์, 2012. เด็กพันธุ์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 หน้าตาควรเป็นอย่างไร..!!. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013].

    ผู้จัดการออนไลน์, 2012. นักวิชาการห่วงเด็กเล็ก สมองพัฒนาไม่ครบส่วน!. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013].

    อักษรเจริญทัศน์, 2013. การพัฒนาทักษะคิด. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013]. Chaillé, Christine M. and Lory Britain. 2003.

    The Young Child As Scientist: A Constructivist Approach to Early Childhood Science Education, 3rd Edition. Boston: Allyn and Bacon. Mahidol University, 2011.

    Brain and Learning Development. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013]. National Research Council. 2012.

    Education for Life and Work: Developing Transferable Knowledge and Skills in the 21st Century. Washington, DC: The National Academies Press. Office of Private Education Commission, 2013.

    ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013]. Penn State Extension, 2013.

    21st Century Skills: What Are They? And What Role Can Early Childhood Programs Play?. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013].

    Pittsburgh Post-Gazette, 2012. Early childhood education pays off: 21st-century skills must start to be instilled in the first years of school. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013].

    The Partnership for 21st Century Skills. 2009. “Framework for 21st Century Learning.” Washington, D.C.: The Partnership for 21st Century Skills. http://www.p21.org/overview. Yahoo Voice, 2013.

    Early Childhood Education—Key to Meeting 21st Century Goals. [online] Available at: [Accessed 19 October 2013].



    ผู้เขียน: มนทกานติ์ รอดคล้าย และตรวจสอบโดย: รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาภรณ์ มานะจุติ

    ตอบลบ