วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ธาตุและสารประกอบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน



ธาตุและสารประกอบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน




ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ในการจำแนกสารเคมีเป็นพวกๆ นั้นเราใช้วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเกณฑ์การจำแนก ดังรายละเอียดต่อไปนี้


1. สารปรุงแต่งอาหาร

1.1 ความหมายสารปรุงแต่งอาหาร สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสดีขึ้น เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ และให้รสชาติต่างๆ เช่น
- น้ำตาล ให้รสหวาน
- เกลือ น้ำปลา ให้รสเค็ม
- น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว
1.2 ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น

2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น



2. เครื่องดื่ม

เครื่องดื่ม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม และมักจะมี น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาท และบาง
ประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ น้ำดื่มสะอาด น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ชาและกาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
1) น้ำดื่มสะอาด 
น้ำดื่มสะอาด เป็นเครื่องดื่มที่ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันน้ำดื่มสะอาดได้รับความนิยมมาก ผู้ผลิตมักจะบรรจุน้ำดื่มในขวดใสสะอาดแก้วที่สะอาด เหมาะสำหรับที่จะเสิร์ฟในร้านอาหาร หรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักส่วนใหญ่มักจะเลือกเครื่องดื่มชนิดนี้แทนเครื่องดื่มที่มีรสหวานอื่นๆ
2) น้ำผลไม้ 
น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง และต้องเป็นน้ำผลไม้ที่สดๆ จึงจะได้คุณค่ามาก ผู้ผลิตมักจะนำผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลมาคั้นเอาแต่น้ำ นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล หรือนำผลไม้สดมาปั่นผสมกับน้ำแข็ง น้ำเชื่อม จะได้รสชาติแปลกๆ หลายอย่าง



3. สารทำความสะอาด

3.1 ความหมายของสารทำความสะอาด
สารทำความสะอาด หมายถึง คุณสมบัติในการกำจัดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค
3.2 ประเภทของสารทำความสะอาด
แบ่งตามการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ
1) ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก
สารทำความสะอาดพื้นเป็นต้น
2) ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น
แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
2.1 สารประเภททำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น
2.2 สารประเภททำความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่ สารซักฟอกชนิดต่างๆ
2.3 สารประเภททำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
2.4 สารประเภททำความสะอาดห้องน้ำ ได้แก่ สารทำความสะอาดห้องน้ำทั้งชนิดผงและชนิดเหลว

สมบัติของสารทำความสะอาด

สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพูสระผม สารล้างจาน สารทำความสะอาดห้องน้ำ สารซักฟอก บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบสซึ่งทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส

สารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนที่ยาไว้ระหว่างกระเบื้องปูพื้นหรือฝาห้องน้ำบริเวณเครื่องสุขภัณฑ์ ทำให้คราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกมาด้วย ถ้าใช้สารชนิดนี้ไปนานๆ พื้นและฝาห้องน้ำจะสึกกร่อนไปด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้เกิดความระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและผิวหนังอีกด้วย ดังนั้น ในการใช้ต้องระมัดระวังโดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดและต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ในปริมาณมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยทำความสะอาดได้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม อาจทำให้สิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนสารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์



4. สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช

4.1 ความหมายของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการกำจัด และควบคุมแมลงต่างๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ
4.2 ประเภทของ สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง สารกำจัดแมลง เป็นต้น
2. ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม เป็นต้น


5.เครื่องสำอาง

5.1 ความหมายของเครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบร่างกาย เพื่อใช้ทำความสะอาดเพื่อให้เกิดความสดชื่น ความสวยงาม และเพิ่มความมั่นใจ
5.2 ประเภทของเครื่องสำอาง แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1 ) สำหรับผม เช่น แชมพู ครีมนวด เจลแต่งผม ฯลฯ
2 ) สำหรับร่างกาย เช่น สบู่ ครีม และโลชั่นทาผิว ยาทาเล็บ น้ำยาดับกลิ่นตัว แป้งโรยตัว ฯลฯ
3 ) สำหรับใบหน้า เช่น ครีม โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา
4 ) น้ำหอม
5 ) เบ็ดเตล็ด เช่น ครีมโกนหนวด ผ้าอนามัย ยาสีฟัน ฯลฯ





ที่มา  https://sites.google.com/site/kruwiriyaudnoonchart/bth-thi-3-thatu-laea-sarprakxb/4-thatu-laea-sarprakxb-thi-chi-ni-chiwit-praca-wan


โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระถางต้นไม้จากธรรมชาติ




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระถางต้นไม้จากธรรมชาติ



บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง กระถางต้นไม้จากธรรมชาติ นี้จัดทำขึ้น เพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการลดภาวะโลกร้อนและการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อกระถางต้นไม้พลาสติก ความสำคัญของการทำกระถางต้นไม้คือ สามารถลดปริมาณขยะที่จะเพิ่มขึ้นให้น้อยลง วิธีกำจัดจะช่วยลดแก๊สพิษในอากาศ และลดค่าใช้จ่าย ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า โดยการนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติรอบๆตัวเรามาประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานขึ้น โดยใช้กากมะพร้าวกับหญ้าแห้งมาทำการทดลองเปรียบเทียบกัน โดยใช้กากมะพร้าวมาผสมกับแป้งเปียกและมาเปรียบเทียบกับหญ้าแห้งที่ผสมกับแป้งเปียก ผลจากการทดลองพบว่า เมื่อนำกระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวและกระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้าแห้ง ทั้งชนิดไปทดลองปลูกต้นไม้ พบว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวสามารถอุ้มน้ำได้มากกว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้าแห้ง และกระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้ามีความคงทนน้อยกว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าว ซึ่งทำให้เราทราบว่า กระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวมีความคงทนได้ดี สามารถอุ้มน้ำได้มากกว่ากระถางที่ทำจากหญ้าแห้ง และเมื่อนำ กระถางต้นไม้ 2 ชนิดมาทดลอง จึงสามารถทราบได้ว่ากระถางต้นไม้จากธรรมชาติที่ดีที่สุดคือ กระถางต้นไม้ที่ทำด้วยกากมะพร้าว และกระถางต้นไม้ที่นำมาทดลองนั้นก็สามารถนำมาใช้ได้จริง และจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ในชีวิตประจำวันได้




กิตติกรรมประกาศ

             โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์กระถางต้นไม้จากธรรมชาติ เพื่อเป็นการลดปัญหาโลกร้อน ซึ่งกระถางต้นไม้จากธรรมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อกระถางต้นไม้พลาสติก ซึ่งกระถางต้นไม้แบบพลาสติกจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และเป็นปัญหาทำให้เกิดขยะมากขึ้น กระถางต้นไม้จากธรรมชาติจะไม่เป็นปัญหาในเรื่องของขยะ เพราะกระถางต้นไม้ที่ทำจากธรรมชาติเมื่อไม่ได้ใช้งาน กระถางต้นไม้จากธรรมชาติจะย่อยสลายไปตามกาลเวลา และสามารถนำไปจำหน่ายได้
                 จึงจัดทำโครงงานเรื่องกระถางต้นไม้จากกระถางต้นไม้ขึ้นเพื่อให้ศึกษาเป็นแนวทางในการศึกษา และสามรถนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ในชีวิตประจำวัน



บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

        จากการที่ ได้ศึกษาเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ จึงคิดสร้างสรรค์ผลงานเรื่องกรถางต้นไม้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน ในโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระถางต้นไม้ที่ทำจากธรรมชาติ ที่ได้ศึกษามานั้น มีสิ่งที่จำเป็นต่อโลกและมนุษย์ เช่นการลดภาวะโลกร้อนโดยวิธีทีการกำจัดกระถางต้นไม้ได้ปลอดภัยกว่ากระถางที่ทำจากพลาสติก ไม่ทำให้เกิดแก็สพิษในอากาศขณะที่ทำลาย สิ่งที่นำมาทดลองมี 2 ประเภท คือ กากมะพร้าว และ หญ้าแห้ง วัสดุธรรมชาติพวกนี้ มีประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อีกมากมาย  คือ สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือการเกษตรได้ และยังสามารถใช้เป็นปุ๋ย ตกแต่งสวนให้สวยงาม ช่วยทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และช่วยให้พืชที่ปลูกไว้มีความเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
      จากความสำคัญของวัสดุธรรมชาติ  กากมะพร้าวและหญ้าแห้งเป็นที่น่าสนใจที่ทำให้อยากทราบว่า  กระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าว และกระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้าแห้งนั้น กระถางต้นไม้แบบใดจะมีความคงทน การอุ้มน้ำได้มากว่า เราจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา เพื่อศึกษาค้นคว้าและทำการทดลอง
จุดมุ่งหมายการศึกษา
1. ศึกษาความสำคัญของวัสดุธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรา
2. เพื่อทดลองว่ากระถางต้นไม้แบบใดที่สามารถนำมาใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน                                                                                                    

3. เพื่อลดกาวะโลกร้อน ลดและแก็สพิษที่อยู่ในอากาศ
  สมมุติฐาน
     กระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวทนทานกว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากกระถางที่ทำจากกระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้า
ตัวแปรต้น 1. กากมะพร้าว  2. หญ้า
ตัวแปรตาม ปริมาณแป้งเปียก
 ตัวแปรควบคุม 1. แป้งเปียก  2. ปรมาณกากมะพร้าวกับหญ้า 3.ปริมาณน้ำที่ผสมในแป้งเปียก



บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
               กระถางต้นไม้ที่ทำจากธรรมชาติ คือ กระถางที่ประดิษฐ์สร้างสรรค์มาจาก วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย รอบๆตัวตัวเราและวิธีทำไม่ยากจนเกินไป จึงสามารถนำมาคิดค้นเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ของการประดิษฐ์กระถางต้นไม้จากธรรมชาตินั้น เป็นการลดภาวะโลกร้อน ลดปริมาณการเผาขยะ ทำให้ลดแก็สพิษในอากาศ และ เพิ่มค่าครองชีพของเราได้ โครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงกระถางต้นไม้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทำให้มีความสวยงาม ดึงดูดความสนใจ น่ามอง กระถางต้นไม้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติเมื่อไม่ต้องการใช้ ก็สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้ วิธีกำจัดก็ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ลดความเป็นพิษในอากาศ เมื่อประดิษฐ์กระถางต้นไม้จากธรรมชาติ เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้วทำให้ดูสวยงามกว่ากระถางต้นไม้พลาสติกทั่วไป เพราะกระถางนั้นก็จะสามารถนำไปตกแต่งสวนหลังบ้าน รั้วรอบๆบ้านหรือตามแต่ที่เราต้องการ ดูเป็นธรรมชาติกว่าที่ทำจากวัสดุอื่น วัสดุจากธรรมชาติที่สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นกระถางต้นไม้ได้ดี เช่น  กากมะพร้าว หญ้าแห้ง ฟาง  เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำมาทดลองใช้ก่อนที่จะใช้จริง เพราะว่า ถ้านำไปใช้จริงอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ เช่น กระถางต้นไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้น มีความคงทนถาวาร และสารมารถอุ้มน้ำได้มากน้อยแตกต่างกัน กระถางอาจจะไม่คงรูป กระถางมีความคงทนมากน้อยแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของวัสดุที่ทำขึ้นเมื่อปลูกต้นไม้และมีการรดน้ำ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะนำมาใช้หรือนำไปจำหน่าย ต้องนำไปทดลองการใช้งานเสียก่อน เพื่อให้ทราบว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากวัสดุชนิดนั้นมีความคงทน มีความสามารถในการอุ้มน้ำ มีความเหมาะสมกับต้นไม้หรือพืชประดับ ชนิดนั้นๆจนมีความเหมาะสมและสวยงามตามที่เราต้องการ เพราะฉะนั้นจึงจะทำโครงงานนี้เรื่องนี้ขึ้น






 บทที่ 3
วิธีจัดการดำเนินงาน

อุปกรณ์การทำ
1.             หญ้า
2.             กากมะพร้าว
3.             แป้งเปียก
4.             กระถางต้นไม้พลาสติกขนาดต่างกัน

วิธีการทดลอง
1.             นำกากมะพร้าวมาผสมกับแป้งเปียก
2.             ใช้มือนวดแป้งเปียกกับกากมะพร้าวให้เข้ากัน
3.              นำแป้งเปียกที่ผสมกับกากมะพร้าวมาใส่ในกระถางต้นไม้พลาสติกที่เตรียมไว้
4.             กดแป้งเปียกที่ผสมกับกากมะพร้าวที่อยู่ในกระถางให้แน่น
5.             นำกระถางพลาสติกอีกใบมากดที่บนตรงกลางกระถางให้เป็นหลุมตรงกลาง
แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
6.             ค่อยๆแกะกากมะพร้าวที่ผสมกับแป้งเปียกออกอย่างเบามือ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
ประมาณ 2-3 วัน หรือจนกว่าจะแห้งสนิท
                                                              
                                                           

บทที่ 4
ตรางผลการทดลอง
ผลการทดลองครั้งที่ 1 ดังนี้
วัสดุธรรมชาติ
                              ความสามารถในการอุ้มน้ำ
หญ้าแห้ง
     ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
         ครั้งที่ 3      
        15
               15
           20
ตรางที่ 1 แสดง
จากตรางที่แสดงที่พบว่า
1.             หญ้าแห้งมีความสามารถในการอุ้มน้ำน้อยมาก
2.             หญ้าแห้งมีรูปร่างไม่คงรูป
3.             หญ้าแห้งมีความทนทานน้อยกว่ากากมะพร้าว
ผลการทดลองครั้งที่ 2 ดังนี  
                                           
วัสดุธรรมชาติ
                             ความสามารถในการอุ้มน้ำ

กากมะพร้าว
       ครั้งที่ 1
        ครั้งที่ 2
        ครั้งที่ 3
         30
          55
           69
ตรางที่ 2 แสดง
จากตรางที่ 2 พบว่า
1.             กากมะพร้าวมีความสามารถในการอุ้มน้ำมากกว่า
2.             กากมะพร้าวคงรูปร่างได้ดีกว่าหญ้าแห้ง
3.            กากมะพร้าวมีความคงทนมากกว่าหญ้าแห้ง
                                                         



บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
1.             จากการทดลองพบว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากกกามะพร้าวคงทนกว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้า
2.             ระยะการใช้เวลาในการประดิษฐ์กระถางต้นไม้จากธรรมชาติ 2-3 วัน
3.             ปริมาณของแป้งเปียกที่ผสมกับกากมะพร้าวต้องพอดีและปริมาณแป้งเปียกเหมาะสมกับปริมาณ
4.             กากมะพร้าว กระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวมีความอุ้มน้ำมากกว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้าแห้ง กระถางที่ทำจากกาหญ้ามีการอุ้มเฉลี่ย 20 เปอร์เซ็น  กระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวมีการอุ้มน้ำ 69เปอร์เซ็น ฉะนั้น กระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวมีอัตตราการอุ้มน้ำได้ดีกว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากหญ้าแห้ง












บรรณนุกรรม

http://transformers-cmp.blogspot.co.uk/2011/10/blog-post.html





ตัวอย่างชื่อโครงงานประเภทการทดลอง

ตัวอย่างชื่อโครงงานประเภทการทดลอง





ที่มา    http://tripob.kvc.ac.th/general/science%20project.pdf


เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศีกษาตอนต้น

เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศีกษาตอนต้น






เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 1

    เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.1
    เทอม 1
    เทอม 2
    บทที่ 1 หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช
    1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
    2. ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
    3. การลำเลียงในพืช การแพร่และการออสโมซิส
    4. การสืบพันธุ์ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
    5. การสังเคราะห์ด้วยแสง
    6. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น

    บทที่ 2 สารในชีวิตประจำวัน
    1. ความหมายและสมบัติของสาร
    2. ประเภทของสารและการจำแนกประเภท
    3. การแยกสารเนื้อผสม และสารเนื้อเดียว
    4. การแยกสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

    บทที่ 3 สารละลาย
    1. ความหมายและองค์ประกอบของสารละลาย
    2. ความเข้มข้นของสารละลาย
    3. สมบัติการเป็นกรด-เบสของสารละลาย
    4. สารที่ใช้ในการทำความสะอาด
    5. ความปลอดภัยในการใช้สารในชีวิตประจำวัน

    บทที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่
    1. แรง ปริมาณสเกลาร์ และปริมาณเวกเตอร์
    2. ชนิดของแรง
    3. โมเมนตัมของแรง
    4. ความหมายของการเคลื่อนที่ และแบบของการเคลื่อนที่

    บทที่ 2 งานและพลังงาน
    1. งานกับการคำนวณเกี่ยวกับงาน
    2. พลังงานและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน
    3. พลังงานความร้อน
    4. การใช้และการอนุรักษ์พลังงาน

    บทที่ 3 บรรยากาศ
    1. ส่วนประกอบของอากาศ
    2. อุณหภูมิของอากาศและชั้นบรรยกาศ
    3. ความดันของอากาศและความชื้นของอากาศ
    4. ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ
    5. อุตุนิยมวิทยาและมลภาวะในชีวิตประจำวัน



    เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 2

      เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.2
      เทอม 1
      เทอม 2
      บทที่ 1 ชีวิตสัตว์
      1. โครงสร้างและหน้าที่ของระบบอวัยวะ
      2. การปรับตัวและพฤติกรรมของสัตว์
      3. การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธ์สัตว์
      4. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของสัตว์

      บทที่ 2 ร่างกายของเรา
      1. ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา
      2. ความสัมพันธ์ของระบบอวัยวะในร่างกายของเรา
      3. อาหารและสารอาหาร
      4. ผลของการใช้สาราต่อร่างกายของเรา

      บทที่ 3 ธาตุและสารประกอบ
      1. ความหมายของธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ
      2. อะตอมและโมเลกุลของสาร
      3. ความหมายของสารประกอบ
      4. ธาตุและสารประกอบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน



      บทที่ 1 สารและการเปลี่ยนแปลง
      1. ประเภทของสารและการเปลี่ยนแปลง
      2. ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
      3. การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
      4. พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
      5. ผลปฏิกิริยาเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

      บทที่ 2 แสง
      1. ธรรมชาติของแสง
      2. ความสว่าง
      3. สมบัติของแสงเชิงเรขาคณิต
      4. เลเซอร์
      5. ทัศนูปกรณ์
      6. นัยน์ตาและการมองเห็น

      บทที่ 3 โลกและการเปลี่ยนแปลง
      1. ส่วนประกอบของโลก
      2. หิน แร่ และการอนุรักษ์
      3. ดิน น้ำ และการอนุรักษ์
      4. การเปลี่ยนแปลงทางธรณี

      เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 3

        เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.3
        เทอม 1
        เทอม 2
        บทที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
        1. ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
        2. การใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากร
        3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
        4. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

        บทที่ 2 ระบบนิเวศ
        1. สิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่
        2. ประเภทของระบบนิเวศ
        3. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
        4. การถ่ายทอดพลังงาน

        บทที่ 3 พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
        1. กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
        2. โครโมโซมและสารพันธุกรรม
        3. ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น
        4. ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน
        บทที่ 1 ไฟฟ้า
        5. ปริมาณทางไฟฟ้าและการคำนวณ
        6. วงจรและการต่อวงจรไฟฟ้า
        7. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
        8. การใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

        บทที่ 2 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
        1. อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
        2. วงจรอิเล็กทรอนิกส์และการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
        3. วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน

        บทที่ 3 เอกภพ
        1. กำเนิดเอกภพและการเปลี่ยนแปลงของเอกภพ
        2. กาแลกซีและระบบดาวฤกษ์
        3. พลังงานของดาวฤกษ์
        4. ระบบสุริยะ
        5. เทคโนโลยีอวกาศและการสำรวจ




        ที่มา  http://brightupcenter.com/